กิจกรรมที่ 1 ให้นิสิตแต่ละคน หาตัวอย่างของศูนย์สาหรับการศึกษาตามอัธยาศัยมา คนละ
1 ศูนย์ โดยต้องอธิบายดังรายละเอียดต่อไปนี้
ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา (Centre for
Educational Technology)
1. นโยบาย ของศูนย์ วิสัยทัศน์ และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์
ตอบ โครงสร้าง
- ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา แบ่งส่วนงานภายในออกเป็น 17 ส่วน 26 ฝ่ายดังนี้
- ส่วนรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตามหลักสูตร (สทล.)
- ส่วนรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย (สทอ.)
- ส่วนบริหารงานสถานีวิทยุโทรทัศน์ (สบท.)
- ฝ่ายจัดรายการและออกอากาศ
- ฝ่ายกำกับการออกอากาศ
- ฝ่ายพัฒนาการออกอากาศ
- ฝ่ายตรวจพิจารณารายการโทรทัศน์
- ส่วนข่าวโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (สขท.)
- ส่วนเทคนิคโทรทัศน์ (สทท.)
- ฝ่ายควบคุมระบบออกอากาศโทรทัศน์
- ฝ่ายบันทึกรายการโทรทัศน์
- ฝ่ายตัดต่อรายการโทรทัศน์
- ฝ่ายช่างภาพ
- ส่วนศูนย์ผลิตรายการโทรทัศน์และวิดีโอเทปเพื่อการศึกษา (รังสิต) ศทศ.
- ฝ่ายผลิตรายการโทรทัศน์
- ฝ่ายเทคนิคโทรทัศน์และวิศวกรรม
- ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
- ส่วนรายการวิทยุเพื่อการศึกษาตามหลักสูตร (สวล.)
- ส่วนรายการวิทยุเพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย (สวอ.)
- ส่วนบริหารงานวิทยุกระจายเสียง (สบว.)
- ส่วนข่าววิทยุเพื่อการศึกษา (สขว.)
- ส่วนเทคนิควิทยุ (สทว.)
- ฝ่ายบันทึกเสียง
- ฝ่ายควบคุมการออกอากาศวิทยุ
- ส่วนอำนวยการ (สอก.)
- ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
- ฝ่ายการเงินและบัญชี
- ฝ่ายพัสดุ
- ฝ่ายศิลปกรรม
- ส่วนแผนงานและพัฒนาบุคลากร (สผพ.)
- ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ
- ฝ่ายพัฒนาบุคลากร
- ฝ่ายวิจัยและประเมินผล
- ฝ่ายพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศ
- ส่วนวิศวกรรมและพัฒนาเทคโนโลยี (สวพ.)
- ฝ่ายพัฒนาระบบสถานีวิทยุศึกษา
- ฝ่ายพัฒนาระบบสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
- ฝ่ายพัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- ส่วนติดตั้งและซ่อมบำรุง (สตซ.)
- ฝ่ายซ่อมบำรุงสาธารณูปโภค
- ฝ่ายซ่อมบำรุงวิทยุกระจายเสียง
- ฝ่ายซ่อมบำรุงวิทยุโทรทัศน์
- ส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ (สสพ.)
- ส่วนจัดการทรัพยากร (สจก.)
วิสัยทัศน์
“ มุ่งส่งเสริมและขยายโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ประชาชน ผ่านเทคโนโลยีการศึกษาที่ทันสมัยและมีคุณภาพ ”
พันธกิจ
1. บริหารจัดการสถานีวิทยุศึกษา และสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ (ETV)
2. ดำเนินการจัด ผลิต เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่ทันสมัย มีคุณภาพ
ในรูปแบบรายการวิทยุเพื่อการศึกษา รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
สื่อการศึกษาเพื่อคนพิการและสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในรูปแบบอื่น
เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
3. พัฒนาและเผยแพร่ให้บริการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายสากล (Internet)
4. เสริมสร้างโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา กศน. ทั้งในเมืองและชนบทได้เข้าถึงช่องทางและมีทางเลือกในการเรียนรู้ที่
หลากหลายและมีคุณภาพโดยจัดให้มีการสอนเสริมความรู้ (Tutor Channel) ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
(ETV) ร่วมกับสถานีวิทยุโทรทัศน์ สาธารณะ
รวมทั้งจัดให้มีการสอน เสริมความรู้เคลื่อนที่ไปในจังหวัดต่างๆ
5. พัฒนาระบบการประชาสัมพันธ์ให้มีการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน
และการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตให้กับกลุ่มเป้าหมาย
6.
บริหารทรัพยากรและข้อมูลสารสนเทศด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเพื่อให้บริการ
แก่ผู้รับบริการและหน่วยงานเครือข่าย
7. พัฒนาบุคลากรทางเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งผู้ผลิต ผู้ใช้
ให้มีความรู้และทักษะ ในด้านการผลิต การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
8. ดำเนินการสำรวจ วิจัยและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อกำหนดนโยบาย
ยุทธศาสตร์ และพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและเผยแพร่ การบริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
2. แหล่งที่มาของศูนย์
ตอบ ประวัติความเป็นมา ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
เดิมชื่อ กองเผยแพร่การศึกษา
พ.ศ. 2495
ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา เดิมชื่อ กองเผยแพร่การศึกษา
ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8
มีนาคม พ.ศ.2495 สังกัดกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
ทำหน้าที่โฆษณาเผยแพร่ให้ประชาชนเห็นคุณค่าของการศึกษา แนะนำ การศึกษาและอาชีพ
โดยมีคุณหญิงอัมพร มีศุข เป็นหัวหน้ากองเผยแพร่การศึกษาเป็นคนแรก
พ.ศ. 2497
รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของการใช้วิทยุเพื่อการศึกษา จึงมีมติอนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการ
จัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “สถานีวิทยุศึกษา” ตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ
สังกัดกองเผยแพร่ เริ่มส่งการกระจายเสียงเป็นครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2497
ออกอากาศเพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชน ในสาขาต่างๆ และในปีเดียวกันนี้เอง
รัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกา จัดวางระเบียบราชการกรมวิชาการ พ.ศ. 2497 แก้ไขใหม่ให้โอนกองเผยแพร่การศึกษา
ไปขึ้นกับสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2500
หลังจากที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดรายการวิทยุ
เพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชนแล้วต่อมาใน พ.ศ. 2500 กองเผยแพร่การศึกษา ได้เริ่มการทดลองใช้วิทยุ
เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนซึ่งเรียกว่า “วิทยุโรงเรียน”
เริ่มดำเนินการออกอากาศรายการใน พ.ศ. 2501
และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2502 กองเผยแพร่การศึกษา
ได้เริ่มจัดรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเป็นครั้งแรก
โดยออกอากาศรายการส่งเสริมเผยแพร่ศิลปะการฟ้อนรำ
และการดนตรีของไทยเรียกชื่อรายการว่า “นาฎดุริยางควิวัฒน์”
ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ในรายการบันเทิงภาคสุดท้าย
เดือนละ 1 รายการ
พ.ศ. 2515
รัฐบาลได้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการใหม่
โดยรวมงานการกระจายเสียงทั้งวิทยุและโทรทัศน์ งานผลิตเอกสาร
วารสารของกองเผยแพร่การศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง
งานผลิตโสตทัศนูปกรณ์ของกรมวิชาการ และแผนกโสตทัศนศึกษา กรมสามัญศึกษา
มารวมเข้าด้วยกันและตั้งเป็น “ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา” สังกัดกรมวิชาการตามพระราชกฤษฎีกา
เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2515
พ.ศ. 2522
รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29
กันยายน พ.ศ. 2515 ตั้งกรมการศึกษานอกโรงเรียนขึ้น
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2522
และได้โอนศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาเข้าสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน
พ.ศ. 2522
รัฐบาลได้อนุมัติโครงการพัฒนาวิทยุกระจายเสียง ตามโครงการพัฒนาการศึกษา
ครั้งที่ 5
ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ถึง 2527 ในส่วนหนึ่งของโครงการนี้ รัฐบาลได้อนุมัติให้สร้างอาคารศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้นใหม่
พร้อมห้องบันทึกเสียง และห้องผลิตรายการวิทยุ
ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาจึงได้ย้ายที่ทำการจากเดิม
ซึ่งอยู่ภายในบริเวณกระทรวงศึกษาธิการ มาอยู่ ณ อาคารแห่งใหม่ ถ.ศรีอยุธยา
เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ. 2526
พ.ศ. 2527
กระทรวงศึกษาธิการ
ได้อนุมัติให้ต่อเติมอาคารด้านทิศตะวันตกของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
เพื่อเป็นศูนย์ผลิตรายการวิดีโอเทปเพื่อการศึกษา
ได้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์การผลิตรายการ เสร็จสมบูรณ์และเริ่มจัด
และผลิตรายการวิดีโอเทปอย่างจริงจังตั้งแต่เดือนมกราคม 2529
พ.ศ. 2537
หลังจากที่งานผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาของ
กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการมาแล้วกว่า 30 ปี กระทรวงศึกษาธิการโดยความร่วมมือของมูลนิธิไทยคม
ได้จัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ หรือ ETV ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมอบหมายให้กรมการศึกษานอกโรงเรียน
โดยศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นผู้ดำเนินงาน
และได้รับอนุมัติให้จัดตั้งสถานีโทรทัศน์อย่างเป็นทางการ จากกรมประชาสัมพันธ์ ในปี
พ.ศ. 2542
พ.ศ. 2546
กรมการศึกษานอกโรงเรียน
ได้ปรับเปลี่ยนองค์กรใหม่เป็นสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิ
การ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราช การกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
โดยเริ่มกำหนดปรับเปลี่ยนตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
จึงต้องสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานปลัดกระทวงศึกษาธิการเป็นต้นมา
พ.ศ. 2551
สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน
กศน.) ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม
2551 ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
พ.ศ.2551 ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาจึงสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
3. แผนการดำเนินงาน (ถ้ามี)
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ศูนย์สนับสนุนและบริการ
1.
อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานภายในศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาทั้งด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านธุรการ งานด้านเลขานุการผู้บริหาร งานบริหารบุคคล อาคารสถานที่
ยานพาหนะ งานด้านศิลปกรรม การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อเทคโนโลยีชนิดต่าง ๆ
ที่ทันสมัย ควบคุมดูแลบริหารด้านงบประมาณ
การเงิน ระบบบัญชีและพัสดุ ขององค์กร
2. วิเคราะห์ จัดทำยุทธศาสตร์ วางแผนการดำเนินงาน
จัดทำแผนปฏิบัติงาน แผนการใช้งบประมาณ จัดทำแผนพัฒนาองค์กร จัดทำตัวชี้วัดการปฏิบัติงานขององค์กร
จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน รวบรวม จัดเก็บวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ สารสนเทศ ร่วมมือกับเครือข่าย จัดทำวิจัย สำรวจ
ประเมินผล เพื่อวางแผนและส่งเสริมการปฏิบัติงานขององค์กร ดำเนินการศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย เพื่อจัดทำหลักสูตร
สื่อและการจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากรทางเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
3. ดำเนินงานด้านวิศวกรรม ควบคุมดูแลระบบอุปกรณ์ของสถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์
ศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้ในองค์กร ตรวจสอบ
ควบคุม
ดูแลการเชื่อมโยงสัญญาณเครื่องส่ง
ดูแลระบบสารสนเทศ ระบบสาธารณูปโภค
การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์
4. วางแผนดูแลรักษาซ่อมบำรุง อุปกรณ์การผลิต อุปกรณ์การเผยแพร่รายการวิทยุ โทรทัศน์
มัลติมีเดีย อุปกรณ์สาธารณูปโภค
และอื่น ๆ
สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา
1. จัดผลิต พัฒนา และเผยแพร่
รายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
2.
ส่งเสริมเครือข่ายในการผลิตรายการวิทยุ
นำมาเผยแพร่ทางสถานีวิทยุศึกษา
3. บริหารจัดการสถานีวิทยุศึกษา
ของกระทรวงศึกษาธิการ
4. จัดการเผยแพร่
รายการวิทยุเพื่อส่งเสริมการศึกษาในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
5. จัดทำตารางออกอากาศ คู่มือประกอบการรับฟังรายการ เผยแพร่สำหรับกลุ่มเป้าหมาย
6. วิจัย ติดตามผลการรับฟัง
เพื่อการพัฒนารายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา
7.
ประชาสัมพันธ์รายการวิทยุกระจายเสียงผ่านสื่อที่หลากหลาย
สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
1.
จัดผลิต พัฒนา และเผยแพร่
รายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
2.
ส่งเสริมเครือข่ายในการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
3.
บริหารจัดการ
สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ (สถานี ETV)
4.
จัดทำตารางออกอากาศ คู่มือ เอกสารประกอบการรับชมรายการ เผยแพร่ให้กับกลุ่มเป้าหมาย
5.
วิจัย ติดตามผลการรับชม รวมทั้งส่งเสริม / ร่วมกับเครือข่ายในการสำรวจ
วิจัย เพื่อพัฒนารายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
6.
ประชาสัมพันธ์รายการโทรทัศน์ผ่านสื่อที่หลากหลาย
ศูนย์สื่อนวัตกรรมและบริหารทรัพยากร
1.
ศึกษา วิจัย
และพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาในรูปแบบ มัลติมีเดีย
บทเรียนบนเว็บ (E –learning) ,Intranet และ CD เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต
ดูแลเว็ปไซด์ของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา รวมทั้งการวิจัย การสำรวจ ติดตามผลการใช้ของกลุ่มเป้าหมาย
2. ผลิต พัฒนา
และเผยแพร่สื่อการศึกษาเพื่อคนพิการและผู้ที่เกี่ยวข้องกับคนพิการในรูปแบบหนังสือเสียง
หนังสือเบรลล์ รายการวีดีทัศน์ เว็บไซต์สื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ
และสื่อรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตรและเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย
3.
พัฒนาและดำเนินงานด้านการบริการและเผยแพร่สื่อการศึกษาของ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา แก่กลุ่มเป้าหมาย พัฒนาระบบ และดำเนินงานห้องสมุดสื่อการศึกษา (Media Archives) โดยจัดเก็บและให้บริการต้นฉบับสื่อการศึกษาประเภทรายการโทรทัศน์รายการวิทยุ
และสื่ออื่นๆ ที่ผลิตโดยศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
กำหนดแนวทางและดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรสื่อของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แก่กลุ่มเป้าหมายและองค์กร
ดำเนินงานด้านสิทธิประโยชน์ในสื่อการศึกษาที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
วิจัยและพัฒนาระบบการให้บริการและการเผยแพร่สื่อการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย
กิจกรรมที่
2 ให้นิสิตแต่ละคนหาตัวอย่างผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
มาคนละ 2 ผังโครงสร้าง
พร้อมเขียนอธิบายดังนี้
โครงสร้าง
1.แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์
ตอบ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หมู่ ๒ ตำบล เขาหินซ้อน
อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
2.โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด
ตอบ แบบ Line and Staff Organization เพราะเป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างสำหรับหน่วยงานขนาดใหญ่
ซึ่งลำพังผู้บริหารคนเดียวไม่สามารถดำเนินการได้ จึงมีในรูปแบบของคณะกรรมการต่าง ๆ
เข้ามาเป็นผู้ช่วยควบคุมการทำงานโดยมีอำนาจทางอ้อมในการดาเนินการนั้น ๆ
ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา (Centre for
Educational Technology)
โครงสร้าง
- ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา แบ่งส่วนงานภายในออกเป็น 17 ส่วน 26 ฝ่ายดังนี้
- ส่วนรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตามหลักสูตร (สทล.)
- ส่วนรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย (สทอ.)
- ส่วนบริหารงานสถานีวิทยุโทรทัศน์ (สบท.)
- ฝ่ายจัดรายการและออกอากาศ
- ฝ่ายกำกับการออกอากาศ
- ฝ่ายพัฒนาการออกอากาศ
- ฝ่ายตรวจพิจารณารายการโทรทัศน์
- ส่วนข่าวโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (สขท.)
- ส่วนเทคนิคโทรทัศน์ (สทท.)
- ฝ่ายควบคุมระบบออกอากาศโทรทัศน์
- ฝ่ายบันทึกรายการโทรทัศน์
- ฝ่ายตัดต่อรายการโทรทัศน์
- ฝ่ายช่างภาพ
- ส่วนศูนย์ผลิตรายการโทรทัศน์และวิดีโอเทปเพื่อการศึกษา (รังสิต) ศทศ.
- ฝ่ายผลิตรายการโทรทัศน์
- ฝ่ายเทคนิคโทรทัศน์และวิศวกรรม
- ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
- ส่วนรายการวิทยุเพื่อการศึกษาตามหลักสูตร (สวล.)
- ส่วนรายการวิทยุเพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย (สวอ.)
- ส่วนบริหารงานวิทยุกระจายเสียง (สบว.)
- ส่วนข่าววิทยุเพื่อการศึกษา (สขว.)
- ส่วนเทคนิควิทยุ (สทว.)
- ฝ่ายบันทึกเสียง
- ฝ่ายควบคุมการออกอากาศวิทยุ
- ส่วนอำนวยการ (สอก.)
- ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
- ฝ่ายการเงินและบัญชี
- ฝ่ายพัสดุ
- ฝ่ายศิลปกรรม
- ส่วนแผนงานและพัฒนาบุคลากร (สผพ.)
- ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ
- ฝ่ายพัฒนาบุคลากร
- ฝ่ายวิจัยและประเมินผล
- ฝ่ายพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศ
- ส่วนวิศวกรรมและพัฒนาเทคโนโลยี (สวพ.)
- ฝ่ายพัฒนาระบบสถานีวิทยุศึกษา
- ฝ่ายพัฒนาระบบสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
- ฝ่ายพัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- ส่วนติดตั้งและซ่อมบำรุง (สตซ.)
- ฝ่ายซ่อมบำรุงสาธารณูปโภค
- ฝ่ายซ่อมบำรุงวิทยุกระจายเสียง
- ฝ่ายซ่อมบำรุงวิทยุโทรทัศน์
- ส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ (สสพ.)
- ส่วนจัดการทรัพยากร (สจก.)
3.แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์
ตอบ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักงาน กศน.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ มีอาคารสำนักงาน
และอาคารเครื่องส่งรวม 3 แห่ง ดังนี้
ตั้งอยู่ที่ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร บนพื้นที่ 2 ไร่ 1 งาน ลักษณะเป็นอาคาร 5 ชั้น
ก่อสร้างเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2522
แล้วเสร็จเดือนพฤษภาคม 2524
อาคารเครื่องส่งระบบ A.M. 1 หลัง อาคารพัสดุ 1 หลัง และบ้านพัก 2 หลัง
ตั้งอยู่ที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร บนพื้นที่เช่าของกรมการศาสนา
จำนวน 37 ไร่ 2 งาน
ก่อสร้างและติดตั้ง อุปกรณ์ในปีงบประมาณ 2524 - 2525
แห่งที่ 3
ศูนย์ผลิตรายการโทรทัศน์และวิดีโอเทปเพื่อการศึกษา(รังสิต)เกิดขึ้นในปี
พ.ศ.2536 โดยคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้ดำเนิน
โครงการพัฒนาศูนย์ผลิตรายการโทรทัศน์ และวิดีโอเทปเพื่อการศึกษา บริเวณคลอง 6 ถนนสายรังสิต-นครนายก จังหวัดปทุมธานี
บนที่ดินของราชพัสดุเนื้อที่จำนวน 13 ไร่
มีพื้นที่ใช้สอย จำนวน 7,700 ตารางเมตร
ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนผลิตรายการ
1.1 ห้องผลิตรายการ (Studio) จำนวน 3 ห้อง ขนาด 110 ม2 150 ม2 และ 350 ม2
1.2 ห้องตัดต่อรายการ (Edit) จำนวน 6 ห้อง
2. ส่วนสนับสนุน
3. ส่วนสำนักงาน
4.โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด
ตอบ แบบ Line Organization เพราะเป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างตามงานที่รับผิดชอบในอำนาจหน้าที่กันเป็นขั้น
ๆจากระดับสูงสุดไปจนกระทั่งต่ำสุด
แหล่งอ้างอิง
http://www.ceted.org (18 มิถุนายน 2555)
http://www.khaohinsorn.com (18 มิถุนายน 2555)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น