1.ให้นิสิตสรุปความหมายของคำว่าการจัดการ
ตอบ แนวคิดพื้นฐานด้านการจัดการ
ความหมายการจัดการ เป็นการดาเนินงานหรือกระบวนการใดๆ ของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ร่วมกัน โดยคำนึงถึงการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และมีองค์ประกอบ คือ
1.เป้าหมายที่ชัดเจน(Goal)
2.ทรัพยากรในการบริหารที่มีจากัด(Management Resources)
3.การประสานงานระหว่างกัน(Co-ordinate)
4.การแบ่งงานกันทา (Division)
การจัดการ หมายถึง เป็นการดำเนินงานหรือกระบวนการใดๆ ของคน ทรัพยากรและเทคนิคต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานในแต่ละฝ่ายงานย่อยสำเร็จลุล่วงไปตามวัตถุประสงค์ หรือตามแผนงานที่วางไว้
ทรัพยากรในการจัดการ (4 MA 2Mo 1Me)
• Man ทรัพยากรบุคคล
• Money งบประมาณ
• Materials/Media วัสดุ/สื่อการเรียนรู้
• Methods วิธีการ/กิจกรรม
• Market การตลาด/การประชาสัมพันธ์
• Machine เครื่องจักร/อุปกรณ์ในการจัดการ
• Moral (ขวัญ กาลังใจ)
2. ให้นิสิตสรุปการจัดการในสานักหอสมุด ได้แก่
2.1 โครงสร้างการบริหารงานสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา
ตอบ ประวัติสำนักหอสมุด
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา
เป็นหน่วยงานส่งเสริมวิชาการของมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการ
สารสนเทศเพื่อการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย พัฒนามาจากห้องอ่านหนังสือ
ซึ่งเปิดบริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 โดยใช้ห้องเลขที่ 203 ในอาคารเรียนของวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2499
ห้องสมุดได้ย้ายมาอยู่อาคารอำนวยการ
โดยได้ใช้ห้องชั้นล่างของอาคารเป็นที่ปฏิบัติงานจนถึงปี พ.ศ. 2503 วิทยาลัยได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่เสร็จเรียบร้อย
ห้องสมุดได้ย้ายอีกครั้งมาอยู่ในห้องโถงชั้นล่างของอาคารเรียนซีกหนึ่ง จนกระทั่งปี
พ.ศ. 2516 วิทยาลัยได้งบประมาณก่อสร้างอาคารหอสมุดเป็นเอกเทศ มีลักษณะเป็นอาคาร
2 ชั้น และเปิดใช้เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2516
เมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการเปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วิทยาเขตบางแสน และมหาวิทยาลัยบูรพา ตามลำดับนั้น ในปีงบประมาณ 2536-2539 สำนักหอสมุดได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคารสำนักหอสมุดหลังใหม่สูง
7 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 11,500 ตารางเมตร
และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ
พระราชทานชื่อ “อาคารเทพรัตนราชสุดา” และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2538
สำนักหอสมุดได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคารสำนักหอสมุดหลังใหม่สูง 7 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 11,500 ตารางเมตร
และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ
“อาคารเทพรัตนราชสุดา” และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2538
ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาสังคม
ปณิธาน
ก้าวสู่ความเป็นเลิศทางการให้บริการสารสนเทศ
พร้อมกับมุ่งมั่นให้บริการดัวยความสะดวก รวดเร็ว แม่นยำน่าเชื่อถือ
ด้วยความมีมิตรไมตรี
วิสัยทัศน์
มุ่งพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในการให้บริการสารสนเทศ
ด้วยบุคลากรที่มีคุณภาพและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อความเป็นมาตรฐานสากล
ภารกิจหลัก
1.จัดสำนักหอสมุดให้เป็นศูนย์รวมวิชาการในรูปแบบของศูนย์บริการสารสนเทศ
ในทุกรูปแบบ ตลอดจนเป็นศูนย์บริการเทคโนโลยีทางการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อสนับสนุนและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้า
และการวิจัยของนิสิตอาจารย์ และบุคลากรอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย
2. พัฒนาสำนักหอสมุดให้เป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
และห้องสมุดดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบ
3.ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยโดย
พัฒนาเครือข่ายห้องสมุดของมหาวิทยาลัยบูรพา (Burapha
University Library Network)
4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรสำนักหอสมุดผลิตผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาการดำเนินงานและการให้บริการสารสนเทศ
5. พัฒนากลไกการประกันคุณภาพการดำเนินงานและการให้บริการของสำนักหอสมุด
เป้าหมายการดำเนินงาน
1. เพื่อสนับสนุนด้านวิชาการของมหาวิทยาลัย
ให้บรรลุตามภารกิจหลัก 4 ประการ คือ
การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่ชุมชน
และการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
2. เพื่อจัดหาและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบ
ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ
3. เพื่อจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศให้ผู้ใช้เข้าถึงได้สะดวก
รวดเร็ว ถูกต้อง และตรงตามความต้องการโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
4. เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน
พันธกิจ
สำนักหอสมุด
มีหน้าที่หลักในการสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัยในมหาวิทยาลัยบูรพา
โดยการจัดหา จัดเก็บ จัดระบบ บำรุงรักษา
และให้บริการสารสนเทศทางวิชาการในทุกรูปแบบ
ตลอดจนพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และห้องสมุดดิจิทัล
สำนักหอสมุดให้บริการเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมี
ประสิทธิภาพ เป็นมาตรฐานสากล
สามารถเชื่อมโยงการดำเนินงานและการให้บริการในลักษณะเครือข่ายห้องสมุดทั้ง
ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในระดับชาติและนานาชาติ
โดยเน้นการให้บริการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยความสะดวก รวดเร็ว
และจิตสำนึกในการให้บริการที่ดี
โครงสร้างการบริหาร
2.2 การให้บริการ
ตอบ 1. เป็นสมาชิกห้องสมุด
การสมัครเป็นสมาชิกห้องสมุด ให้นิสิตนำบัตรประจำตัวนิสิตไปติดต่อเจ้าหน้าที่
ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น ๒ เพื่อบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูลสมาชิกห้องสมุด
2. การใช้บัตรประจำตัวนิสิต
นิสิตจะต้องแสดงบัตรประจำตัวนิสิตของตนเองทุกครั้งที่ใช้บริการของสำนักหอสมุด
ในกรณีที่นิสิตทำบัตรประจำตัวนิสิตหาย ให้แจ้งสำนักหอสมุดทราบทันที หากมีผู้นำบัตรดังกล่าว
ไปใช้ เจ้าของบัตรนั้นต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้บัตรนั้น
ในระหว่างที่ยังไม่ได้แจ้งการสูญหายให้สำนักหอสมุดทราบ
3. การเข้าใช้บริการของสำนักหอสมุด
ให้นิสิตสแกนบัตรประจำตัวนิสิตของตนเองทุกครั้งที่เข้าใช้บริการและสามารถ
ฝากสิ่งของไว้ที่ห้องรับฝากของ
4. บริการตู้รับฝากของ
นิสิตที่เข้าใช้บริการห้องสมุดสามารถฝากสิ่งของไว้ในตู้รับฝากของก่อนเข้าใช้บริการ
ห้องสมุดได้ ไม่เกิน 1 วัน โดยจะต้องนำของออกจากตู้รับฝากของก่อนเวลาปิดบริการ
ในเวลา 22.00 น.
5. บริการการยืม – คืนวัสดุห้องสมุด
สำนักหอสมุด ให้บริการยืม-คืนวัสดุห้องสมุดทางระบบคอมพิวเตอร์
การยืม-คืนวัสดุ
ห้องสมุดนิสิตจะต้องนำบัตรประจำตัวนิสิต พร้อมวัสดุห้องสมุดที่นำมายืมหรือนำมาคืน
ยื่นให้เจ้าหน้าที่ นิสิตสามารถยืมต่อด้วยตนเองได้ ๑ ครั้ง ใน Web OPAC (ไอคอนสมาชิก) โดยดำเนินการภายในวันกำหนดส่ง สามารถจองสื่อที่มีสถานะถูกยืม
ตรวจสอบรายการยืม ประวัติการยืม-คืน และข้อมูลค่ำปรับ ได้ด้วยตนเอง
* เฉพาะเจ้าของบัตรประจำตัวนิสิตเท่านั้น
ที่มีสิทธิใช้บัตรฯ ในการยืม *
6. บริการรับคืนหนังสือที่ตู้รับคืนหนังสือ
สำนักหอสมุดจัดตู้รับคืนหนังสือ/ สื่อโสตทัศน์ ณ
บริเวณใกล้ประตูทางเข้าชั้น ๑ ทั้ง ๒ ด้าน ผู้ใช้บริการที่ต้องการคืนหนังสือ/
สื่อโสตทัศน์ สามารถคืนหนังสือ/ สื่อโสตทัศน์ที่ตู้รับคืน ฯ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการจัดเก็บหนังสือทุกวันเวลา
๐๘.๐๐ น., ๑๑.๐๐ น., ๑๔.๐๐ น. และ
๑๖.๐๐ น. และจัดเก็บสื่อโสตทัศน์ในเวลา ๐๘.๐๐ น. และ ๑๖.๓๐ น. บริการของสำนักหอสมุด๘
7. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
เป็นบริการที่จัดขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการได้รับสารสนเทศที่ต้องการจากสื่อสิ่งพิมพ์
สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีบริการในสำนักหอสมุดและหน่วยงานอื่น
ตลอดจนจากแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
ให้บริการ ณ เคาน์เตอร์บริการตอบคำถาม ชั้น 2 และชั้น 5
8. บริการสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ให้บริการสารสนเทศสำหรับการศึกษาวิจัยซึ่งให้ข้อมูลที่เป็นบรรณานุกรมสำระสังเขป
หรือฉบับเต็ม (Full-text) ของหนังสือ บทความวารสาร วิทยานิพนธ์ในสำขำวิชาต่าง
ๆ ในรูปแบบฐานข้อมูลออนไลน์ (Online
database) วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-journal) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
(e-book) และฐานข้อมูลดิจิทัลของเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ
โดยสืบค้นผ่านเว็บไซต์ของสำนักหอสมุดทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เป็นบริการที่แนะนำเทคนิควิธีการสืบค้นสารสนเทศแก่ผู้ใช้บริการให้สามารถค้นคว้าสารสนเทศจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในสำขำวิชาต่าง
ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อขอใช้บริการโดยนัดหมายเวลาตามที่ต้องการได้
สอบถามเพิ่มเติมที่ โทร 0-3810-2475
10. ห้องศึกษาค้นคว้ากลุ่ม
ให้บริการห้องศึกษาค้นคว้าเป็นกลุ่มแก่นิสิตและสมาชิกของห้องสมุด
โดยผู้ที่ต้องการใช้ห้องศึกษาค้นคว้ากลุ่มสามารถติดต่อขอใช้บริการได้ที่เคาน์เตอร์บริการชั้น
5 โดยใช้บริการได้ครั้งละ 3 ชั่วโมง และจำนวนผู้ใช้บริการอย่างน้อยห้องละ 3 คน
2.3 การดูแลรักษาทรัพยากรในสำนักหอสมุด
ตอบ งานบำรุงรักษาทรัพยากร ทำหน้าที่บำรุงรักษาหนังสือให้มีสภาพดีเหมาะสมกับการให้บริการในห้องสมุดซึ่งมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นหนังสือทุกเล่มจำเป็นต้องได้รับการบำรุงรักษาเพื่อให้มีสภาพรูปเล่มที่มั่นคงแข็งแรง
มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น โดยงานบำรุงรักษาทรัพยากร มีนโยบายในการดำเนินงาน ดังนี้ คือ
1. หนังสือทุกเล่มที่รับเข้ามาใหม่ในห้องสมุดก่อนจะทำการจัดหมวดหมู่เพื่อนำส่งขึ้นชั้นให้บริการนั้น
จะต้องผ่านกระบวนการคัดแยกตามประเภทของปก
และประเภทของสิ่งพิมพ์กล่าวคือจะคัดแยกหนังสือออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
หนังสือปกแข็ง หนังสือปกอ่อน และวิทยานิพนธ์ (ฉบับสำเนา) หนังสือปกแข็งจะคัดแยกและนำส่งฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ หนังสือปกอ่อนจะทำการเสริมปกแข็ง และวิทยานิพนธ์
ฉบับสำเนาจะทำการเย็บเล่มและเข้าปกแข็ง
2. หนังสือที่ออกให้บริการในห้องสมุดแล้วชำรุด
ส่วนงานให้บริการผู้ใช้จะรวบรวมส่งให้งานบำรุงรักษาหนังสือดำเนินการรับมาทำความสะอาดและคัดแยกประเภทการซ่อม
โดยจำแนกการซ่อมออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่การซ่อมแบบสมบูรณ์ (Full
repair) การซ่อมกึ่งสมบูรณ์ (Half repair) การซ่อมบางส่วน
(Partial repair) และ
การเย็บเล่มเข้าปกแข็ง (binding) กระบวนการนี้รวมถึงการจัดทำป้ายอักษรชื่อเรื่องของหนังสือและแถบรหัสเลขเรียกหนังสือ
เพื่อความสมบูรณ์ในการขึ้นชั้นให้บริการอีกครั้งหนึ่งของหนังสือด้วย
3. การรับหนังสือชำรุดจากส่วนให้บริการผู้ใช้ จะต้องตรวจสอบเอกสารนำส่งซึ่งแนบมาให้ถูกต้องตรงกัน
เมื่อมีรายการใดไม่ถูกต้องจะทำการทักท้วงและนำเอกสารส่งคืนเพื่อตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องตรงกับจำนวนและรายการหนังสือที่ได้รับจริงทุกครั้ง
และเมื่องานบำรุงรักษาหนังสือดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนำหนังสือส่งคืนส่วนให้บริการผู้ใช้ครบถ้วนตามจำนวนที่ได้รับ
4. สำหรับหนังสือที่ถูกส่งมารับการบำรุงรักษาไม่วาจะด้วยวิธีใด จะเป็นหนังสือใหม่แรกรับ หรือหนังสือเก่าออกให้บริการแล้วชำรุดส่งซ่อมก็ตาม
เมื่อมีผู้ใช้บริการต้องการใช้ด่วน งานบำรุงรักษาหนังสือจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน
3 ชั่วโมงหลังจากได้รับคำร้องขอ โดยร้องขอไม่เกินเวลา 14.00 น. ของวันทาการปกติ หากได้รับแจ้งหลังจากเวลานี้ผู้ใช้บริการจะได้รับหนังสือในอีก
1 วันถัดมา
5. วัสดุที่ใช้ในการบำรุงรักษาหนังสือจะเป็นไปด้วยความประหยัดตามวิธีการในการบำรุงรักษาแต่ละวิธีซึ่งแตกต่างกันไป
โดยหากวัสดุเดิมของหนังสือยังใช้ได้ จะยังคงใช้เป็นส่วนสำคัญในการบำรุงรักษา ไม่ว่าจะเป็นการซ่อม การเสริมปกแข็งหรือการเข้าปกเย็บเล่มใหม่ก็ตาม
แหล่งอ้างอิง
http://giftjung.blogspot.com/2010/06/1it.html (17 มิถุนายน 2555) http://www.kmitnbxmie8.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5355384&Ntype=3 (17 มิถุนายน 2555)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น