ความหมายของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็น อาคาร สถานที่ ที่เป็นจุดรวมการให้บริการ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการที่หลากหลายทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มีหน้าที่ส่งเสริมงานด้านการเรียนการสอน ซึ่งมุ่งให้นิสิตรู้จักใช้ประโยชน์จากศูนย์ทรัพยากร การเรียนรู้ และศึกษาค้นคว้าวิจัยด้วยตนเองนอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียน ดังนั้น ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในด้าน สถานที่ วัสดุสารนิเทศ วัสดุครุภัณฑ์ และบุคลากร มีงบประมาณเพียงพอ เพื่อให้ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สามารถให้บริการ และเป็นแหล่ง เพิ่มพูนความรู้ด้วยตนเอง แก่คณาจารย์ นิสิต และบุคลากรได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานของการประกอบอาชีพในอนาคตรวมทั้งเป็นแหล่งวิทยาการที่สามารถสนับสนุนการเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพ
ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ แบ่งการบริหารงาน ดังนี้
บริการสิ่งพิมพ์ หมายถึงการให้บริการยืม-คืนหนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ชนิดต่างๆ ได้แก่ หนังสือภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ เอกสารประกอบการเรียนการสอน คู่มือครู แผนการสอน หนังสืออ่านเพิ่มเติม หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์ หนังสืออ้างอิง วิทยานิพนธ์ วารสาร และอื่นๆ เป็นต้น
บริการสื่อโสตทัศนวัสดุ หมายถึงการให้บริการยืม-คืนอุปกรณ์การสอนทั้งหลายที่มีคุณค่าทางการศึกษาและการสอน ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับหนังสือเป็นสำคัญ แต่อาศัยเสียงและภาพเป็นหลัก เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาที่ปรากฏในรูปของเสียง เช่น เพลง ภาพสิ่งของต่างๆ ซึ่งอธิบายด้วยคำได้ยาก เป็นต้น โสตทัศนวัสดุ มีหลายประเภท ดังนี้
• ชุดการเรียนการสอน
• แผ่นใส
• ภาพผนึก
• สไลด์
• ซีดี-รอม
• วีซีดี
• แผ่นดิสเกตต์
• เทปคลาสเซ็ท
• วิทัศน์
• คู่มือการใช้สื่อ
• ป้ายนิเทศ
• และอื่นๆ เป็นต้น
บริการผลิตสื่อการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ใช้สื่อการเรียนการสอน และสื่อการนำเสนอ และใช้บริการวิชาการด้านการผลิตสื่อการเรียนการสอน
• แผ่นใส
• ภาพผนึก
• สไลด์
• ซีดี-รอม
• วีซีดี
• แผ่นดิสเกตต์
• เทปคลาสเซ็ท
• วิทัศน์
• คู่มือการใช้สื่อ
• ป้ายนิเทศ
• และอื่นๆ เป็นต้น
บริการผลิตสื่อการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ใช้สื่อการเรียนการสอน และสื่อการนำเสนอ และใช้บริการวิชาการด้านการผลิตสื่อการเรียนการสอน
ตัวอย่างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม
อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม ก่อตั้งเมื่อปี 2540 บนพื้นที่ 45 ไร่ จัดเป็นส่วนแสดงต่าง ๆ ภายใต้ความร่มรื่นของพรรณไม้ที่อยู่ระหว่างเส้นทางสู่สถานที่จัดแสดงส่วนต่าง ๆ
อาคารเชิดชูเกียรติ : จัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาสบุคคลสำคัญต่าง ๆ ของไทย และในภูมิภาคนี้ โดยมีการจำลองพื้นที่การจัดแสดงหุ่นให้ใกล้เคียงบ้าน หรือสถานที่ทำงานของบุคคลท่านนั้น ๆ เช่น ม.ล. ปิ่น มาลากุล นักการศึกษาคนสำคัญ ฯพณฯ ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ นักกฎหมาย ศาสตราจารย์ ดร. ป๋วย อึ้งภากรณ์ นักเศรษฐศาสตร์ผู้วาง รากฐานนโยบายเศรษฐกิจของไทย อาจารย์ มนตรี ตราโมท บรมครูผู้อนุรักษ์และสืบสานงานดนตรีไทย คุณสืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์ธรรมชาติซึ่ง ยอมสละชีพเพื่อรักษาผืนป่าอันเป็นที่รัก แม่ชีเทเรซ่า แม่พระของชาวโลก ประธานาธิบดีโฮจิมินห์ วีรบุรุษผู้กอบกู้เอกราชของ เวียดนาม เหมา เจ๋อ ตุง และ เติ้ง เสี่ยว ผิง นักปฏิวัติผู้นำประเทศจีน เป็นต้น อาคารจัดแสดงจัดให้เส้นทางให้เดินอย่างเป็นระเบียบ และจะวนมาที่ทางออกอีกครั้ง หลังจากเดินออกจากอาคารจะพบกับ
ลานพระ 3 สมัย : จัดแสดงพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ในสมัยสุโขทัย อยุธยา และเชียงแสน บนลานกว้างท่ามกลางธรรมชาติ และมีป้ายแสดงรายละเอียดของลักษณะพระพุทธรูปของแต่ละสมัยที่แตกต่างกัน พอเดินจากลานพระ 3 สมัย จะพบความสดชื่นจากน้ำตกจำลอง และพบกับถ้ำชาดก
ถ้ำชาดก : เป็นการจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งเรื่องราวตามลำดับของพระเวสสันดร ในรูปแบบแสง สี เสียง ทั้งตอนชูชกขอกัญหา ชาลีจากพระเวสสันดร ตอนชูชกกินจนท้องแตกตาย เป็นต้น ออกจากถ้ำชาดกเดินไปตามเส้นทางจะพบกับอาคารคล้ายบ้านทรงไทยตั้งอยู่เรียงรายกันเป็นที่ตั้งของกุฏิพระสงฆ์ และหอสวดมนต์
กุฏิพระสงฆ์ และหอสวดมนต์ : ภายในกุฏิพระสงฆ์จะมีการประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งจำลองพระอริยสงฆ์ ผู้มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพบูชาของประชาชน (มีเสียงบันทึกบรรยายประวัติของแต่ละท่านให้ทราบตลอดเวลา) แบ่งเป็น
1.กุฏิพระสงฆ์ภาคกลาง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ ญาโณทัย) วัดสระเกศ กรุงเทพฯ
2.กุฏิพระสงฆ์ภาคเหนือ ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
3.กุฏิพระสงฆ์ภาคอีสาน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
4.กุฏิพระสงฆ์ภาคใต้ พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ (หลวงปู่ทวด) วัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี พระครูวิสัยโสภณ (พระอาจารย์ทิม ธัมมธโร) วัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี
5.หอสวดมนต์ ประดิษฐานหุ่นจำลองในลักษณะร่วมประชุมกัน
1. หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ วัดบางคลาน จ. พิจิตร
2. หลวงพ่อทองคำ (พระเมตตาวิหารคุณ) วัดบึงบา จ. ปทุมธานี
3. หลวงปู่สุภา กันตสีโล วัดสิลสุภาราม จ.ภูเก็ต
4. หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดระหารไร่ จ.ระยอง
5. หลวงปู่คำพัน โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม
เดินออกจากบริเวณกุฏิพระสงฆ์จะพบกับบ้านเรือนไทยสี่ภาค ภายในจำลองวัฒนธรรม การดำเนินชีวิตของคนไทยในแต่ละภาคผ่านหุ่นขี้ผึ้งต่าง ๆ มากมาย และเมื่อใกล้ถึงทางออกจะพบกับ ลานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร มีรูปจำลองพระโพธิสัตว์องค์ใหญ่อยู่กลางลานที่โอบล้อมไปด้วยความเป็นธรรมชาติ หลังจากดื่มด่ำความความงดงามของพื้นที่จัดแสดงต่าง ๆ แล้วก็ถึงเวลาที่ต้องเดินทางท่องเที่ยวที่อื่นต่อไป ถ้าชมแบบละเอียดใช้เวลาประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง แต่ถ้าเดินชมไปเรื่อย ๆ ก็ประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง ด้านหน้ามีร้านจำหน่ายของที่ระลึก และของฝาก รวมถึงห้องน้ำที่สะอาดน่าใช้ ถ้าผ่านมาทางจังหวัดราชบุรี ก็ลองแวะมาเยี่ยมชม
ลานพระ 3 สมัย : จัดแสดงพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ในสมัยสุโขทัย อยุธยา และเชียงแสน บนลานกว้างท่ามกลางธรรมชาติ และมีป้ายแสดงรายละเอียดของลักษณะพระพุทธรูปของแต่ละสมัยที่แตกต่างกัน พอเดินจากลานพระ 3 สมัย จะพบความสดชื่นจากน้ำตกจำลอง และพบกับถ้ำชาดก
ถ้ำชาดก : เป็นการจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งเรื่องราวตามลำดับของพระเวสสันดร ในรูปแบบแสง สี เสียง ทั้งตอนชูชกขอกัญหา ชาลีจากพระเวสสันดร ตอนชูชกกินจนท้องแตกตาย เป็นต้น ออกจากถ้ำชาดกเดินไปตามเส้นทางจะพบกับอาคารคล้ายบ้านทรงไทยตั้งอยู่เรียงรายกันเป็นที่ตั้งของกุฏิพระสงฆ์ และหอสวดมนต์
กุฏิพระสงฆ์ และหอสวดมนต์ : ภายในกุฏิพระสงฆ์จะมีการประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งจำลองพระอริยสงฆ์ ผู้มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพบูชาของประชาชน (มีเสียงบันทึกบรรยายประวัติของแต่ละท่านให้ทราบตลอดเวลา) แบ่งเป็น
1.กุฏิพระสงฆ์ภาคกลาง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ ญาโณทัย) วัดสระเกศ กรุงเทพฯ
2.กุฏิพระสงฆ์ภาคเหนือ ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
3.กุฏิพระสงฆ์ภาคอีสาน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
4.กุฏิพระสงฆ์ภาคใต้ พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ (หลวงปู่ทวด) วัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี พระครูวิสัยโสภณ (พระอาจารย์ทิม ธัมมธโร) วัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี
5.หอสวดมนต์ ประดิษฐานหุ่นจำลองในลักษณะร่วมประชุมกัน
1. หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ วัดบางคลาน จ. พิจิตร
2. หลวงพ่อทองคำ (พระเมตตาวิหารคุณ) วัดบึงบา จ. ปทุมธานี
3. หลวงปู่สุภา กันตสีโล วัดสิลสุภาราม จ.ภูเก็ต
4. หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดระหารไร่ จ.ระยอง
5. หลวงปู่คำพัน โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม
เดินออกจากบริเวณกุฏิพระสงฆ์จะพบกับบ้านเรือนไทยสี่ภาค ภายในจำลองวัฒนธรรม การดำเนินชีวิตของคนไทยในแต่ละภาคผ่านหุ่นขี้ผึ้งต่าง ๆ มากมาย และเมื่อใกล้ถึงทางออกจะพบกับ ลานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร มีรูปจำลองพระโพธิสัตว์องค์ใหญ่อยู่กลางลานที่โอบล้อมไปด้วยความเป็นธรรมชาติ หลังจากดื่มด่ำความความงดงามของพื้นที่จัดแสดงต่าง ๆ แล้วก็ถึงเวลาที่ต้องเดินทางท่องเที่ยวที่อื่นต่อไป ถ้าชมแบบละเอียดใช้เวลาประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง แต่ถ้าเดินชมไปเรื่อย ๆ ก็ประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง ด้านหน้ามีร้านจำหน่ายของที่ระลึก และของฝาก รวมถึงห้องน้ำที่สะอาดน่าใช้ ถ้าผ่านมาทางจังหวัดราชบุรี ก็ลองแวะมาเยี่ยมชม
แหล่งอ้างอิง
http://www.edu.buu.ac.th/lrc/index3.html (11 มิถุนายน 2555)
http://52041264sina.blogspot.com/p/blog-page.html (11 มิถุนายน 2555)
http://www.scppark.com (11 มิถุนายน 2555)
http://52041264sina.blogspot.com/p/blog-page.html (11 มิถุนายน 2555)
http://www.scppark.com (11 มิถุนายน 2555)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น