วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 4 เรื่อง หลักการจัดการคน (Staffing) กับ หลักการสั่งการ (Directing)


1. ระบบการบริหารงานบุคคลมีอะไรบ้าง
ตอบ       หลักในการบริหารงานบุคคล แบ่งเป็น 2 ระบบ  คือ
  
1. ระบบคุณธรรม Merit System ใช้หลักเกณฑ์
   1.1 หลักความเสมอภาค เช่น มีสิทธิสอบได้ทุก
   1.2 หลักความสามารถ เช่น คัดเลือกผู้มีความสามารถสูงไว้ก่อน
   1.3 หลักความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ผิดวินัย ก็ไม่ถูกลงโทษให้ออก อยู่จนเกษียณ
   1.4 หลักความเป็นกลางทางการเมือง เช้า ห้ามข้าราชการเป็นกรรมการบริษัท
2. ระบบอุปถัมภ์ Patronage System ยึดถือพวกพ้อง เครือญาติ หรือผู้มีอุปการคุณ

2. การจำแนกตำแหน่งมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ       การจำแนกตำแหน่ง แบ่งเป็น 3 ประเภท  มีดังนี้
1.จำแนกตำแหน่งตามลักษณะตำแหน่ง Position Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งโดยถือลักษณะความรับผิดชอบของตำแหน่งเป็นสำคัญ เช่น กลุ่มเจ้าหน้าที่ธุรการ การเงิน นิติกร วิศวกร เป็นต้น
2.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะยศ Rank Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งตามตำแหน่งที่ประกอบกับชั้นยศ ใช้กับทหาร ตำรวจ3. การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะชั้นยศทางวิชาการ Academic Rank Classification จำแนกตามคุณลักษณะความเชี่ยวชาญ วิชาการ เช่น ครู อาจารย์

3. ขั้นตอนของการวางแผนกำลังคนมีอะไรบ้าง
ตอบ       ขั้นตอนการวางแผนกำลังคน  มีดังนี้
  • ศึกษานโยบายและแผนขององค์การ กระบวนการวางแผนกาลังคนต้องให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนขององค์การ และคาดคะเนปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายและแผนขององค์การ เช่น แนวโน้มของธุรกิจนั้น ๆ ในอนาคต, การขยายตัวและการเจริญเติบโตขององค์การ (และคู่แข่ง), การเปลี่ยนแปลงรูปแบบและโครงสร้างองค์การ, การเปลี่ยนแปลงในแนวคิดปรัชญาการบริหารในอนาคต, บทบาทของรัฐบาล, บทบาทสหภาพแรงงาน, การแข่งขันของธุรกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ
  • การตรวจสภาพกาลังคน ; ค้นหาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสภาพกาลังคนที่มีอยู่ในองค์การ เช่น จำนวนตำแหน่ง อัตรากาลังคน ความสามารถของพนักงานที่มีอยู่ การตรวจสภาพกาลังคนอาจจะทาได้ดังต่อไปนี้
             1.การวิเคราะห์งานแต่ละตำแหน่ง องค์การมีตำแหน่งอะไรบ้าง มีคุณสมบัติแต่ละตำแหน่งอย่างไรบ้าง
            2.การทาบัญชีรายการทักษะ ตรวจสภาพพนักงานแต่ละคนมีความสามารถ ชำนาญถนัดในด้านใดบ้าง
            3.คาดการความสูญเสียกาลังคนในอนาคต ใครจะลาออกในอนาคต ใครเกษียณอายุปีหน้าบ้าง
            4.ศึกษาความเคลื่อนไหวภายในเกี่ยวกับ การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง โยกย้าย ให้เป็นปัจจุบันตลอดเวลา
               
4. การวางแผนกำลังคนที่ดีมีอะไรบ้าง
ตอบ       การวางแผนกำลังคนที่ดี ต้องทราบสาระดังนี้
1. ภาระงาน Workload หน้าที่ความรับผิดชอบชั่วโมงงาน
2. การออกแบบงาน Job Design เป็นการออกแบบโครงสร้างงานต่างๆ ทั้งองค์การว่ามีกลุ่มงานอะไรบ้าง
3. การวิเคราะห์งาน Job Analysis วิเคราะห์งานแต่ละตำแหน่ง กำหนดคุณลักษณะที่จาเป็นแต่ละตำแหน่ง เช่น ความสำคัญของงาน ระดับความเป็นอิสระ ตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ของงาน ความรู้ความสามารถและทักษะที่จาเป็น เพื่อกำหนดรายละเอียดของตำแหน่ง Job Description และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification
4. รายละเอียดของตำแหน่งงาน Job Description เป็นการกำหนดชื่อตำแหน่งงานที่ต้องปฏิบัติ
5. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification เป็นการกำหนดรายละเอียดในตำแหน่งลึกลงไปอีก
6. การทาให้งานมีความหมาย Job Enrichment เป็นวิธีการจูงใจและพัฒนาบุคลากรให้เกิดความพึงพอใจในการทางาน (จิ๋วแต่แจ๋ว, เล็กดีรสโต) (Job Enlargement) เล็ก ๆ มิต้าไม่ ใหญ่ ๆ มิต้าทา

5. องค์ประกอบของการอำนวยการมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ       องค์ประกอบของการอำนวยการ มีดังนี้
1.ความเป็นผู้นา ; เป็นกระบวนการของการสั่งการ และการใช้อิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกในองค์การ ให้ยอมตามเพราะยอมรับในอำนาจที่มาจาก 3 แหล่ง คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมา อำนาจจากบารมี และอำนาจตามกฎหมาย จึงก่อให้เกิดผู้นา 3 แบบ คือ แบบประชาธิปไตย แบบเผด็จการ และแบบตามสบาย
2.การจูงใจ ; มีความสำคัญต่อการสั่งการหรือการอานวยการ เพราะเกี่ยวกับบุคลากรให้ปฏิบัติงาน จึงจาเป็นต้องมีการจูงใจหรือกระตุ้นให้อยากทางาน โดยอาศัยหลักธรรมชาติว่ามนุษย์ต้องการ 5 ระดับได้แก่ความต้องการขั้นพื้นฐาน คือปัจจัย 4 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ความต้องการทางสังคม ความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง และความต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต
ดังนั้น ในการสั่งการโดยมีเทคนิคจูงใจด้วย ก่อนจะสั่งการควรขึ้นคาถามก่อนว่า พอมีเวลาหรือไม่หรือ คุณจะช่วยงานนี้ได้ไหม
3. การติดต่อสื่อสาร; เป็นกระบวนการสำคัญช่วยให้การอานวยการดาเนินไปได้ด้วยดีมีประสิทธิภาพ มี 2 ลักษณะคือ สื่อสารแบบทางเดียว และสื่อสารแบบ 2 ทาง
4. องค์การและการบริหารงานบุคคล จุดมุ่งหมายของนักอานวยการคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์การ ซึ่งต้องการไม่เหมือนกันผู้อานวยการจึงต้องทาให้เกิดความสมดุลกัน

6. ประเภทของการอำนวยการมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ       ประเภทของการอำนวยการมี 2 ประเภท ดังนี้
  • โดยวาจา
  • โดยลายลักษณ์อักษร ได้แก่
1. ทำบันทึกข้อความ
2. หนังสือเวียน
3. คำสั่ง
4. ประกาศ

7. รูปแบบของการอำนวยการมีอะไรบ้าง
ตอบ       รูปแบบของการอำนวยการ มีดังนี้
1.คำสั่งแบบบังคับ
2.คำสั่งแบบขอร้อง
3.คำสั่งแบบแนะนาหรือโดยปริยาย
4.คำสั่งแบบขอความสมัครใจ

8. การอำนวยการที่ดีมีอะไรบ้าง
ตอบ       ลักษณะของการอำนวยการที่ดี มีดังนี้
  •  ต้องชัดเจน
  •  ให้คำสั่งมีลักษณะแน่นอน ไม่ใช่ตามอารมณ์
  •  ถ้าผู้รับคำสั่งมีท่าทีสงสัย ให้ขจัดความสงสัยทันที
  • ใช้นำเสียงให้เป็นประโยชน์
  •  วางสีหน้าเข้มแข็งเอาจริงเอาจัง
  •  ใช้ถ้อยคำอย่างสุภาพ
  •  ลดคำสั่งที่มีลักษณะ ห้ามการกระทำให้เหลือน้อยที่สุด
  • อย่าออกคำสั่งในเวลาเดียวกัน มากเกินไป
  • ต้องแน่ใจว่าการออกคำสั่งหลาย ๆ คำสั่ง ไม่ได้ขัดแย้งกันเอง
  • ถ้าผู้รับปฏิบัติ ปฏิบัติไม่ได้ อย่าบันดาลโทสะ พิจารณาตนเองว่าเหตุใดคำสั่งไม่ได้ผล อย่าโยนความผิดให้ผู้รับคำสั่ง
9. ให้นิสิตอธิบายความเชื่อมโยงการบริหารงานบุคคลกับการอำนวยการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศุนย์ทรัพยากรการเรียนอย่างไร
ตอบ       การบริหารงานบุคคล         เป็นการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน  โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพ เป้าหมาย บริการของศูนย์ หรือหน่วยงานที่สำคัญ
การอำนวยการ  เป็นการจัดการของผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการสั่งการตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ชี้แนะ บุคคล การนิเทศงาน และการติดตามผล เพื่อให้งานดำเนินไปตามแผนหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้
การบริหารงานกับการอำนวยการ มีส่วนเชื่อมโยงกันในการสรรหาบุคคลที่ดีและมีคุณภาพเข้าทำงาน โดยต้องมีการอำนวยการจัดการแบ่งตามตำแหน่งหน้าที่  เพื่อให้งานนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้ และมีประสิทธิภาพ นำมาจัดการนำศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้  โดยการสร้างและพัฒนาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยแบ่งหน้าที่กันอย่างเหมาะสมกับงานที่ได้รับมอบหมาย


แหล่งอ้างอิง

www.km.nida.ac.th (28 มิถุนายน 2555)
www.paspecial.blogspot.com (28 มิถุนายน 2555)
www.thaihrwork.com (28 มิถุนายน 2555)

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 3 เรื่อง วางแผน Planning - Organizing


กิจกรรมที่ 1   ให้นิสิตแต่ละคน หาตัวอย่างของศูนย์สาหรับการศึกษาตามอัธยาศัยมา คนละ 1 ศูนย์ โดยต้องอธิบายดังรายละเอียดต่อไปนี้
 ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา (Centre for Educational Technology)



1. นโยบาย ของศูนย์ วิสัยทัศน์ และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์
ตอบ       โครงสร้าง
  •  ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา แบ่งส่วนงานภายในออกเป็น 17 ส่วน 26 ฝ่ายดังนี้
  • ส่วนรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตามหลักสูตร (สทล.)
  • ส่วนรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย (สทอ.)
  • ส่วนบริหารงานสถานีวิทยุโทรทัศน์ (สบท.)

- ฝ่ายจัดรายการและออกอากาศ
- ฝ่ายกำกับการออกอากาศ
- ฝ่ายพัฒนาการออกอากาศ
- ฝ่ายตรวจพิจารณารายการโทรทัศน์
  • ส่วนข่าวโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (สขท.)
  • ส่วนเทคนิคโทรทัศน์ (สทท.)

- ฝ่ายควบคุมระบบออกอากาศโทรทัศน์
- ฝ่ายบันทึกรายการโทรทัศน์
- ฝ่ายตัดต่อรายการโทรทัศน์
- ฝ่ายช่างภาพ
  •  ส่วนศูนย์ผลิตรายการโทรทัศน์และวิดีโอเทปเพื่อการศึกษา (รังสิต) ศทศ.

- ฝ่ายผลิตรายการโทรทัศน์
- ฝ่ายเทคนิคโทรทัศน์และวิศวกรรม
- ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
  • ส่วนรายการวิทยุเพื่อการศึกษาตามหลักสูตร (สวล.)
  • ส่วนรายการวิทยุเพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย (สวอ.)
  • ส่วนบริหารงานวิทยุกระจายเสียง (สบว.)
  • ส่วนข่าววิทยุเพื่อการศึกษา (สขว.)
  • ส่วนเทคนิควิทยุ (สทว.)

- ฝ่ายบันทึกเสียง
- ฝ่ายควบคุมการออกอากาศวิทยุ
  • ส่วนอำนวยการ (สอก.)

- ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
- ฝ่ายการเงินและบัญชี
- ฝ่ายพัสดุ
- ฝ่ายศิลปกรรม
  • ส่วนแผนงานและพัฒนาบุคลากร (สผพ.)

- ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ
- ฝ่ายพัฒนาบุคลากร
- ฝ่ายวิจัยและประเมินผล
- ฝ่ายพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศ
  • ส่วนวิศวกรรมและพัฒนาเทคโนโลยี (สวพ.)

- ฝ่ายพัฒนาระบบสถานีวิทยุศึกษา
- ฝ่ายพัฒนาระบบสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
- ฝ่ายพัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  • ส่วนติดตั้งและซ่อมบำรุง (สตซ.)

- ฝ่ายซ่อมบำรุงสาธารณูปโภค
- ฝ่ายซ่อมบำรุงวิทยุกระจายเสียง
- ฝ่ายซ่อมบำรุงวิทยุโทรทัศน์
  • ส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ (สสพ.)
  • ส่วนจัดการทรัพยากร (สจก.)


วิสัยทัศน์
“ มุ่งส่งเสริมและขยายโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ประชาชน  ผ่านเทคโนโลยีการศึกษาที่ทันสมัยและมีคุณภาพ ”

           พันธกิจ
1. บริหารจัดการสถานีวิทยุศึกษา และสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ETV)
2. ดำเนินการจัด ผลิต เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่ทันสมัย มีคุณภาพ ในรูปแบบรายการวิทยุเพื่อการศึกษา รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา สื่อการศึกษาเพื่อคนพิการและสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในรูปแบบอื่น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
3. พัฒนาและเผยแพร่ให้บริการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายสากล (Internet)
4. เสริมสร้างโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา กศน. ทั้งในเมืองและชนบทได้เข้าถึงช่องทางและมีทางเลือกในการเรียนรู้ที่    หลากหลายและมีคุณภาพโดยจัดให้มีการสอนเสริมความรู้ (Tutor Channel) ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) ร่วมกับสถานีวิทยุโทรทัศน์ สาธารณะ รวมทั้งจัดให้มีการสอน เสริมความรู้เคลื่อนที่ไปในจังหวัดต่างๆ
5. พัฒนาระบบการประชาสัมพันธ์ให้มีการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน   และการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตให้กับกลุ่มเป้าหมาย
6. บริหารทรัพยากรและข้อมูลสารสนเทศด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเพื่อให้บริการ แก่ผู้รับบริการและหน่วยงานเครือข่าย
7. พัฒนาบุคลากรทางเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งผู้ผลิต ผู้ใช้ ให้มีความรู้และทักษะ ในด้านการผลิต การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
8. ดำเนินการสำรวจ วิจัยและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและเผยแพร่ การบริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

2. แหล่งที่มาของศูนย์
ตอบ       ประวัติความเป็นมา   ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา เดิมชื่อ กองเผยแพร่การศึกษา
พ.ศ. 2495
ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา เดิมชื่อ กองเผยแพร่การศึกษา ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2495 สังกัดกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่โฆษณาเผยแพร่ให้ประชาชนเห็นคุณค่าของการศึกษา แนะนำ การศึกษาและอาชีพ โดยมีคุณหญิงอัมพร มีศุข เป็นหัวหน้ากองเผยแพร่การศึกษาเป็นคนแรก
พ.ศ. 2497
รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของการใช้วิทยุเพื่อการศึกษา จึงมีมติอนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้น โดยใช้ชื่อว่า สถานีวิทยุศึกษาตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ สังกัดกองเผยแพร่ เริ่มส่งการกระจายเสียงเป็นครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2497 ออกอากาศเพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชน ในสาขาต่างๆ และในปีเดียวกันนี้เอง รัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกา จัดวางระเบียบราชการกรมวิชาการ พ.ศ. 2497 แก้ไขใหม่ให้โอนกองเผยแพร่การศึกษา ไปขึ้นกับสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2500
หลังจากที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดรายการวิทยุ เพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชนแล้วต่อมาใน พ.ศ. 2500 กองเผยแพร่การศึกษา ได้เริ่มการทดลองใช้วิทยุ เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนซึ่งเรียกว่า วิทยุโรงเรียนเริ่มดำเนินการออกอากาศรายการใน พ.ศ. 2501 และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2502 กองเผยแพร่การศึกษา ได้เริ่มจัดรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเป็นครั้งแรก โดยออกอากาศรายการส่งเสริมเผยแพร่ศิลปะการฟ้อนรำ และการดนตรีของไทยเรียกชื่อรายการว่า นาฎดุริยางควิวัฒน์ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ในรายการบันเทิงภาคสุดท้าย เดือนละ 1 รายการ
พ.ศ. 2515
รัฐบาลได้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการใหม่ โดยรวมงานการกระจายเสียงทั้งวิทยุและโทรทัศน์ งานผลิตเอกสาร วารสารของกองเผยแพร่การศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง งานผลิตโสตทัศนูปกรณ์ของกรมวิชาการ และแผนกโสตทัศนศึกษา กรมสามัญศึกษา มารวมเข้าด้วยกันและตั้งเป็น ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาสังกัดกรมวิชาการตามพระราชกฤษฎีกา เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2515
พ.ศ. 2522
รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 ตั้งกรมการศึกษานอกโรงเรียนขึ้น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2522 และได้โอนศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาเข้าสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน
พ.ศ. 2522
รัฐบาลได้อนุมัติโครงการพัฒนาวิทยุกระจายเสียง ตามโครงการพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 5 ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ถึง 2527 ในส่วนหนึ่งของโครงการนี้ รัฐบาลได้อนุมัติให้สร้างอาคารศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้นใหม่ พร้อมห้องบันทึกเสียง และห้องผลิตรายการวิทยุ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาจึงได้ย้ายที่ทำการจากเดิม ซึ่งอยู่ภายในบริเวณกระทรวงศึกษาธิการ มาอยู่ ณ อาคารแห่งใหม่ ถ.ศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ. 2526
พ.ศ. 2527
กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติให้ต่อเติมอาคารด้านทิศตะวันตกของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อเป็นศูนย์ผลิตรายการวิดีโอเทปเพื่อการศึกษา ได้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์การผลิตรายการ เสร็จสมบูรณ์และเริ่มจัด และผลิตรายการวิดีโอเทปอย่างจริงจังตั้งแต่เดือนมกราคม 2529
พ.ศ. 2537
หลังจากที่งานผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาของ กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการมาแล้วกว่า 30 ปี กระทรวงศึกษาธิการโดยความร่วมมือของมูลนิธิไทยคม ได้จัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ หรือ ETV ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมอบหมายให้กรมการศึกษานอกโรงเรียน โดยศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นผู้ดำเนินงาน และได้รับอนุมัติให้จัดตั้งสถานีโทรทัศน์อย่างเป็นทางการ จากกรมประชาสัมพันธ์ ในปี พ.ศ. 2542
พ.ศ. 2546
กรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้ปรับเปลี่ยนองค์กรใหม่เป็นสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิ การ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราช การกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 โดยเริ่มกำหนดปรับเปลี่ยนตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา จึงต้องสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานปลัดกระทวงศึกษาธิการเป็นต้นมา
พ.ศ. 2551
สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2551 ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาจึงสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

3. แผนการดำเนินงาน (ถ้ามี)


หน้าที่และความรับผิดชอบ
ศูนย์สนับสนุนและบริการ
                1. อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานภายในศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาทั้งด้านการบริหารงานทั่วไป  ด้านธุรการ งานด้านเลขานุการผู้บริหาร  งานบริหารบุคคล  อาคารสถานที่  ยานพาหนะ งานด้านศิลปกรรม การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อเทคโนโลยีชนิดต่าง ๆ ที่ทันสมัย  ควบคุมดูแลบริหารด้านงบประมาณ การเงิน ระบบบัญชีและพัสดุ ขององค์กร
               2.  วิเคราะห์ จัดทำยุทธศาสตร์ วางแผนการดำเนินงาน จัดทำแผนปฏิบัติงาน แผนการใช้งบประมาณ จัดทำแผนพัฒนาองค์กร  จัดทำตัวชี้วัดการปฏิบัติงานขององค์กร จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน รวบรวม จัดเก็บวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ สารสนเทศ  ร่วมมือกับเครือข่าย จัดทำวิจัย  สำรวจ  ประเมินผล เพื่อวางแผนและส่งเสริมการปฏิบัติงานขององค์กร ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อจัดทำหลักสูตร สื่อและการจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากรทางเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
                3.  ดำเนินงานด้านวิศวกรรม  ควบคุมดูแลระบบอุปกรณ์ของสถานีวิทยุ  สถานีโทรทัศน์  ศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้ในองค์กร  ตรวจสอบ  ควบคุม  ดูแลการเชื่อมโยงสัญญาณเครื่องส่ง  ดูแลระบบสารสนเทศ ระบบสาธารณูปโภค  การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์
                4.  วางแผนดูแลรักษาซ่อมบำรุง  อุปกรณ์การผลิต  อุปกรณ์การเผยแพร่รายการวิทยุ  โทรทัศน์  มัลติมีเดีย  อุปกรณ์สาธารณูปโภค และอื่น ๆ
 สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา
                1.  จัดผลิต พัฒนา และเผยแพร่ รายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
                 2.  ส่งเสริมเครือข่ายในการผลิตรายการวิทยุ  นำมาเผยแพร่ทางสถานีวิทยุศึกษา
                3.  บริหารจัดการสถานีวิทยุศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ
                4.  จัดการเผยแพร่ รายการวิทยุเพื่อส่งเสริมการศึกษาในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน  ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
5.  จัดทำตารางออกอากาศ  คู่มือประกอบการรับฟังรายการ  เผยแพร่สำหรับกลุ่มเป้าหมาย
                6.  วิจัย ติดตามผลการรับฟัง  เพื่อการพัฒนารายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา
7.  ประชาสัมพันธ์รายการวิทยุกระจายเสียงผ่านสื่อที่หลากหลาย

สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
1.  จัดผลิต พัฒนา และเผยแพร่ รายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
2.  ส่งเสริมเครือข่ายในการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
3.  บริหารจัดการ  สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ  (สถานี ETV)
4.  จัดทำตารางออกอากาศ  คู่มือ  เอกสารประกอบการรับชมรายการ  เผยแพร่ให้กับกลุ่มเป้าหมาย
5.  วิจัย ติดตามผลการรับชม รวมทั้งส่งเสริม / ร่วมกับเครือข่ายในการสำรวจ วิจัย เพื่อพัฒนารายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
6.  ประชาสัมพันธ์รายการโทรทัศน์ผ่านสื่อที่หลากหลาย
ศูนย์สื่อนวัตกรรมและบริหารทรัพยากร
1.  ศึกษา  วิจัย  และพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาในรูปแบบ  มัลติมีเดีย  บทเรียนบนเว็บ (E –learning) ,Intranet  และ  CD  เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ดูแลเว็ปไซด์ของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา รวมทั้งการวิจัย การสำรวจ ติดตามผลการใช้ของกลุ่มเป้าหมาย
                2.  ผลิต พัฒนา และเผยแพร่สื่อการศึกษาเพื่อคนพิการและผู้ที่เกี่ยวข้องกับคนพิการในรูปแบบหนังสือเสียง หนังสือเบรลล์ รายการวีดีทัศน์ เว็บไซต์สื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ และสื่อรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตรและเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย
3.  พัฒนาและดำเนินงานด้านการบริการและเผยแพร่สื่อการศึกษาของ  ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา  แก่กลุ่มเป้าหมาย  พัฒนาระบบ และดำเนินงานห้องสมุดสื่อการศึกษา (Media Archives)  โดยจัดเก็บและให้บริการต้นฉบับสื่อการศึกษาประเภทรายการโทรทัศน์รายการวิทยุ และสื่ออื่นๆ ที่ผลิตโดยศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา  กำหนดแนวทางและดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรสื่อของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่กลุ่มเป้าหมายและองค์กร  ดำเนินงานด้านสิทธิประโยชน์ในสื่อการศึกษาที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา   วิจัยและพัฒนาระบบการให้บริการและการเผยแพร่สื่อการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย


กิจกรรมที่ 2  ให้นิสิตแต่ละคนหาตัวอย่างผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มาคนละ 2 ผังโครงสร้าง พร้อมเขียนอธิบายดังนี้
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

โครงสร้าง



1.แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์
ตอบ       ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  หมู่ ๒ ตำบล เขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา


2.โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด
ตอบ       แบบ Line and Staff Organization เพราะเป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างสำหรับหน่วยงานขนาดใหญ่ ซึ่งลำพังผู้บริหารคนเดียวไม่สามารถดำเนินการได้ จึงมีในรูปแบบของคณะกรรมการต่าง ๆ เข้ามาเป็นผู้ช่วยควบคุมการทำงานโดยมีอำนาจทางอ้อมในการดาเนินการนั้น ๆ

ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา (Centre for Educational Technology)
โครงสร้าง
  • ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา แบ่งส่วนงานภายในออกเป็น 17 ส่วน 26 ฝ่ายดังนี้
  • ส่วนรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตามหลักสูตร (สทล.)
  • ส่วนรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย (สทอ.)
  • ส่วนบริหารงานสถานีวิทยุโทรทัศน์ (สบท.)

- ฝ่ายจัดรายการและออกอากาศ
- ฝ่ายกำกับการออกอากาศ
- ฝ่ายพัฒนาการออกอากาศ
- ฝ่ายตรวจพิจารณารายการโทรทัศน์
  • ส่วนข่าวโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (สขท.)
  • ส่วนเทคนิคโทรทัศน์ (สทท.)

- ฝ่ายควบคุมระบบออกอากาศโทรทัศน์
- ฝ่ายบันทึกรายการโทรทัศน์
- ฝ่ายตัดต่อรายการโทรทัศน์
- ฝ่ายช่างภาพ
  • ส่วนศูนย์ผลิตรายการโทรทัศน์และวิดีโอเทปเพื่อการศึกษา (รังสิต) ศทศ.

- ฝ่ายผลิตรายการโทรทัศน์
- ฝ่ายเทคนิคโทรทัศน์และวิศวกรรม
- ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
  • ส่วนรายการวิทยุเพื่อการศึกษาตามหลักสูตร (สวล.)
  • ส่วนรายการวิทยุเพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย (สวอ.)
  • ส่วนบริหารงานวิทยุกระจายเสียง (สบว.)
  • ส่วนข่าววิทยุเพื่อการศึกษา (สขว.)
  • ส่วนเทคนิควิทยุ (สทว.)

- ฝ่ายบันทึกเสียง
- ฝ่ายควบคุมการออกอากาศวิทยุ
  • ส่วนอำนวยการ (สอก.)

- ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
- ฝ่ายการเงินและบัญชี
- ฝ่ายพัสดุ
- ฝ่ายศิลปกรรม
  • ส่วนแผนงานและพัฒนาบุคลากร (สผพ.)

- ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ
- ฝ่ายพัฒนาบุคลากร
- ฝ่ายวิจัยและประเมินผล
- ฝ่ายพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศ
  • ส่วนวิศวกรรมและพัฒนาเทคโนโลยี (สวพ.)

- ฝ่ายพัฒนาระบบสถานีวิทยุศึกษา
- ฝ่ายพัฒนาระบบสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
- ฝ่ายพัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  • ส่วนติดตั้งและซ่อมบำรุง (สตซ.)

- ฝ่ายซ่อมบำรุงสาธารณูปโภค
- ฝ่ายซ่อมบำรุงวิทยุกระจายเสียง
- ฝ่ายซ่อมบำรุงวิทยุโทรทัศน์
  • ส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ (สสพ.)
  • ส่วนจัดการทรัพยากร (สจก.)


3.แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์
ตอบ       ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ มีอาคารสำนักงาน และอาคารเครื่องส่งรวม 3 แห่ง ดังนี้

แห่งที่ 1
ตั้งอยู่ที่ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร บนพื้นที่ 2 ไร่ 1 งาน ลักษณะเป็นอาคาร 5 ชั้น ก่อสร้างเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2522 แล้วเสร็จเดือนพฤษภาคม 2524


แห่งที่ 2
อาคารเครื่องส่งระบบ A.M. 1 หลัง อาคารพัสดุ 1 หลัง และบ้านพัก 2 หลัง ตั้งอยู่ที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร บนพื้นที่เช่าของกรมการศาสนา จำนวน 37 ไร่ 2 งาน ก่อสร้างและติดตั้ง อุปกรณ์ในปีงบประมาณ 2524 - 2525


แห่งที่ 3
ศูนย์ผลิตรายการโทรทัศน์และวิดีโอเทปเพื่อการศึกษา(รังสิต)เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2536 โดยคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้ดำเนิน โครงการพัฒนาศูนย์ผลิตรายการโทรทัศน์ และวิดีโอเทปเพื่อการศึกษา บริเวณคลอง 6 ถนนสายรังสิต-นครนายก จังหวัดปทุมธานี บนที่ดินของราชพัสดุเนื้อที่จำนวน 13 ไร่ มีพื้นที่ใช้สอย จำนวน 7,700 ตารางเมตร ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนผลิตรายการ
   1.1 ห้องผลิตรายการ (Studio) จำนวน 3 ห้อง ขนาด 1102 1502 และ 3502
   1.2 ห้องตัดต่อรายการ (Edit) จำนวน 6 ห้อง
2. ส่วนสนับสนุน
3. ส่วนสำนักงาน

4.โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด
ตอบ       แบบ Line Organization เพราะเป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างตามงานที่รับผิดชอบในอำนาจหน้าที่กันเป็นขั้น ๆจากระดับสูงสุดไปจนกระทั่งต่ำสุด

แหล่งอ้างอิง
http://www.ceted.org (18 มิถุนายน 2555)
http://www.khaohinsorn.com (18 มิถุนายน 2555)