วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 9 ห้องเรียนออนไลน์ - การประสานงาน (Coordinating) - การรายงาน (Reporting) - งบประมาณ (Budgeting)


การบ้านประจำสัปดาห์ที่  9
1. การประสานงานมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ        ประเภทของการประสานงานแบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ
1.การประสานงานภายในองค์การและภายนอกองค์การ การประสานงานภายในองค์การ หมายถึง การประสานงานภายในหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ ส่วนการประสานงานภายนอกองค์การเป็นการประสานงานระหว่างหน่วยงานหรือการติดต่อกับบุคลลภายนอกต่าง ๆ
2.การประสานงานในแนวดิ่ง และการประสานงานในแนวราบ การประสานงานในแนวดิ่ง หมายถึง การประสานงานจากผู้บังคับบัญชามาสู่ผู้ใต้บังคับบัญชา (Top down) และการประสานงานจากผู้ใต้บังคับบัญชาไปยังผู้บังคับบัญชา (Bottom up) ส่วนการประสานงานในแนวราบ หมายถึง การประสานงานในระดับเดียวกัน

2. ให้นิสิตอธิบายความสำคัญของการประสานงานกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
ตอบ        1.การประสานงานเป็นกระบวนการในการบริหาร
2.การประสานงานเป็นระเบียบธรรมเนียมในการบริหารงาน
3. การประสานงานเป็นหน้าที่ของนักบริหารหรือหัวหน้างาน
ดังนั้น การที่จะจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ให้ขับเคลื่อนไปอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น จำเป็นต้องมีนักบริหารในการทำหน้าที่ดำเนินการกำหนดนโยบายซึ่งครอบคลุมการทำงานในภาพรวมให้เป็นไปตามเป้าหมายของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
3. การรายงานผลมีความสำคัญต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างไร
ตอบ        การรายงานผลมีความสำคัญต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นอย่างมาก เนื่องจาก การบริหารงานคุณภาพที่ผู้ทำหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบต้องจัดทำบันทึกและเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบ เพราะการรายงานผลเป็นส่วนสำคัญในการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดำเนินงาน และเป็นการนำเสนอเพื่อปรับปรุงในการดำเนินงานครั้งต่อไป

4. ประเภทของเงินงบประมาณในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
ตอบ        งบประมาณในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ แบ่งเป็น 7 ประเภท ประกอบด้วย
(1) หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
(2) หมวดค่าจ้างชั่วคราว
(3) หมวดค่าตอบแทนใช้สอย และวัสดุ
(4) หมวดค่าสาธารณูปโภค
(5) หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
(6) หมวดเงินอุดหนุน
(7) หมวดรายจ่ายอื่น ๆ
5. เงินอุดหนุนโดยอนุโลมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ        1.ค่าฌาปนกิจ คือ เงินที่สมาชิกร่วมกันออกช่วยเหลือเป็นค่าจัดการศพ หรือค่าจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัวของสมาชิกซึ่งถึงแก่ความตาย รวมทั้งเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินกิจการของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์
2. ค่าสินบน คือ ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคลเพื่อจูงใจให้ผู้นั้นกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งหรือตอบแทนที่ช่วยให้สำเร็จตามประสงค์
3.ค่ารางวัลนำจับ คือ เงินค่าหัว ที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาแก่ อาชญากร หรือ ผู้ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ
4.เงินอื่น ๆ ที่สำนักงบประมาณจะกำหนดเพิ่มเติม

แบบฝึกหัดท้ายบทที่  9   การประสานงาน (Coordinating)
1.สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสานงานมีอะไรบ้าง
ตอบ        สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสานงาน ได้แก่
1. การจัดวางหน่วยงานที่ง่ายและเหมาะสม (Simplified Organization)ในองค์การธุรกิจทั่วไปการจัดวางหน่วยงานควรคำนึงถึง
ก. การแบ่งแผนก
ข. การแบ่งตามหน้าที่
ค. การจัดวางรูปงานและระเบียบการที่ชัดแจ้งแก่ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้อง
2. การมีโครงการและนโยบายอันสอดคล้องกัน (Harmonized Program and Policies)
3. การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทำไว้ดี (Well – Designed Methods of Communication)เครื่องมือที่ช่วยในการติดต่อส่งข่าวคราวละเอียด ได้แก่
ก. แบบฟอร์มในการปฏิบัติงาน (Working Papers)
ข. รายงานเป็นหนังสือ (Written report)
ค. เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการติดต่องาน
                4. มีเหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ (Coordination through Supervision)
                5.การประสานงานโดยวิธีควบคุม (Coordination through Supervision)  หัวหน้างาน มีหน้าที่ ดูการดำเนินปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างสอดคล้องและใช้วิธีประเมินผลการปฏิบัติงานทุกระยะ เพื่อให้ทราบข้อบกพร่องและหาทางแก้ไข

2. เทคนิคการประสานงาน (Techniques Coordination) มีอะไรบ้าง
ตอบ        เทคนิคการประสานงาน (Techniques Coordination) ได้แก่
1. จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2. การกำหนดอำนาจหน้าที่และตำแหน่งงานอย่างชัดเจน
3. การสั่งการและการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
4. การใช้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ประสานงานโดยเฉพาะการประสานงานภายในองค์การ
5. การจัดให้มีการประสานงานระหว่างพนักงานในองค์การ
6. การจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
7. การติดตามผล
3. จงอธิบายอุปสรรคของการประสานงาน มาพอเข้าใจ
ตอบ        อุปสรรคของการประสานงาน ได้แก่
1. การขาดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกัน จะกลายเป็นสาเหตุทำให้การติดต่อประสานงานที่ควรดำเนินไปด้วยดี ไม่สามารถกระทำได้
2. การขาดผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารที่มีความสามารถ
3. การปฏิบัติงานไม่มีแผน ซึ่งเป็นการยากที่จะให้บุคคลอื่น ๆ ทราบวัตถุประสงค์และวิธีการในการทำงาน
4. การก้าวก่ายหน้าที่การงาน
5. การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดี ทำให้การทำงานอย่างเป็นระบบ ขาดความร่วมมือ ความเข้าใจซึ่งกันและกัน
6. การขาดการนิเทศงานที่ดี
7. ความแตกต่างกันในสภาพและสิ่งแวดล้อม
8. การดำเนินนโยบายต่างกันเป็นอุปสรรคต่อการประสานงาน
9. ประสิทธิภาพของหน่วยงานต่างกันจะเป็นการยากที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือและประสานงานกัน
10. การทำหน้าที่ความรับผิดชอบและอำนาจไม่ชัดแจ้งทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความกังวลใจและอาจไปก้าวก่ายงานของบุคคลอื่นได้
11. ระยะทางติดต่อห่างไกลกัน
12. เทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานแตกต่างกัน เนื่องมาจากการกุมอำนาจหรือการกระจายอำนาจมากเกินไป
4. จากทฤษฎีที่ศึกษามานิสิตคิดว่าศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ใดบ้างที่มีปัจจัยที่ทำให้เกิดการประสานงานที่ดี จงยกตัวอย่างศูนย์ฯ พร้อมอธิบาย
ตอบ       พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (The National Gallery) มีการประสานงาน ให้ความร่วมมือ แลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการและการจัดแสดงภาพศิลปกรรมชิ้นเยี่ยมกับหน่วยงาน องค์กรทั้งในและต่างประเทศ

แบบฝึกหัดท้ายบทที่  10  การรายงาน (Reporting)
1.การรายงานผลมีความสำคัญอย่างไร ต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
ตอบ        การรายงานผลมีความสำคัญต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นอย่างมาก เนื่องจาก การบริหารงานคุณภาพที่ผู้ทำหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบต้องจัดทำบันทึกและเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบ เพราะการรายงานผลเป็นส่วนสำคัญในการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดำเนินงาน และเป็นการนำเสนอเพื่อปรับปรุงในการดำเนินงานครั้งต่อไป


แหล่งอ้างอิง  
 http://www.siamrath.co.th/web/?q=%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-csr  ( 9 สิงหาคม  2555)
http://www.oaep.go.th/dt_news1.php?id=130 ( 9 สิงหาคม  2555)
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/396003 ( 9 สิงหาคม  2555)
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=89738 ( 9 สิงหาคม  2555)
http://www.unigang.com/Article/136 ( 9 สิงหาคม  2555)

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 8 สอบระหว่างภาค

1. สอบระหว่างภาคให้นิสิตแต่งกายชุดนิสิตเท่านั้น
2. ห้ามทุจริตในการสอบโดยเด็ดขาด 

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 7 ห้องเรียน e-Learning


แนะแนวการเขียนโครงการ Final Project กลุ่มละ 7-8 คน

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 6 ห้องเรียนปกติ(นำเสนองาน)



งานนำเสนอ กลุ่ม การบำรุงรักษาหนังสือและวัสดุสื่อโสตทัศนศึกษา

นโยบายการบำรุงรักษาหนังสือ
งานบำรุงรักษาทรัพยากร ทำหน้าที่บำรุงรักษาหนังสือให้มีสภาพดี เหมาะสมกับการให้บริการในห้องสมุดซึ่งมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ดังนั้นหนังสือทุกเล่มจำเป็นต้องได้รับการบำรุงรักษาเพื่อให้มีสภาพรูปเล่มที่มั่นคงแข็งแรง มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น โดยงานบำรุงรักษาทรัพยากร มีนโยบายในการดำเนินงานดังนี้คื

การบำรุงรักษาหนังสือ
1. หนังสือทุกเล่มที่รับเข้ามาใหม่ในห้องสมุดก่อนจะทำการจัดหมวดหมู่เพื่อนำส่งขึ้นชั้นให้บริการนั้น จะต้องผ่านกระบวนการคัดแยกตามประเภทของปก และประเภทของสิ่งพิมพ์ กล่าวคือจะคัดแยกหนังสือออกเป็น 3 ประเภทได้แก่
-                   หนังสือปกแข็ง
-                   หนังสือปกอ่อน
-                   วิทยานิพนธ์ (ฉบับสำเนา)
หนังสือปกแข็งจะคัดแยกและนำส่งฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ หนังสือปกอ่อนจะทำการเสริมปกแข็ง และวิทยานิพนธ์ฉบับสำเนาจะทำการเย็บเล่มและเข้าปกแข็ง
2. หนังสือที่ออกให้บริการในห้องสมุดแล้วชำรุด ส่วนงานให้บริการผู้ใช้จะรวบรวมส่งให้งานบำรุงรักษาหนังสือดำเนินการรับมาทำความสะอาดและคัดแยกประเภทการซ่อม โดยจำแนกการซ่อมออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ การซ่อมแบบสมบูรณ์ (Full repair) การซ่อมกึ่งสมบูรณ์ (Half repair) การซ่อมบางส่วน (Partial repair) และการเย็บเล่มเข้าปกแข็ง (binding) กระบวนการนี้รวมถึงการจัดทำป้ายอักษรชื่อเรื่องของหนังสือและแถบรหัสเลขเรียกหนังสือ เพื่อความสมบูรณ์ในการขึ้นชั้นให้บริการอีกครั้งหนึ่งของหนังสือด้วย
-                   การซ่อมแบบสมบูรณ์ (Full repair)
-                   การซ่อมกึ่งสมบูรณ์ (Half repair)
-                   การซ่อมบางส่วน (Partial repair)
-                   การเย็บเล่มเข้าปกแข็ง (binding)
                กระบวนการนี้รวมถึงการจัดทำป้ายอักษรชื่อเรื่องของหนังสือและแถบรหัสเลขเรียกหนังสือ เพื่อความสมบูรณ์ในการขึ้นชั้นให้บริการอีกครั้งหนึ่งของหนังสือด้วย
3. การรับหนังสือชำรุดจากส่วนให้บริการผู้ใช้ จะต้องตรวจสอบเอกสารนำส่งซึ่งแนบมาให้ถูกต้องตรงกัน เมื่อมีรายการใดไม่ถูกต้องจะทำการทักท้วงและนำเอกสารส่งคืนเพื่อตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องตรงกับจำนวนและรายการหนังสือที่ได้รับจริงทุกครั้ง และเมื่องานบำรุงรักษาหนังสือดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนำหนังสือส่งคืนส่วนให้บริการผู้ใช้ครบถ้วนตามจำนวนที่ได้รับ
4. สำหรับหนังสือที่ถูกส่งมารับการบำรุงรักษาไม่ว่าจะด้วยวิธีใด จะเป็นหนังสือใหม่แรกรับหรือหนังสือเก่าออกให้บริการแล้วชำรุดส่งซ่อมก็ตาม เมื่อมีผู้ใช้บริการต้องการใช้ด่วน งานบำรุงรักษาหนังสือจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมงหลังจากได้รับคำร้องขอ โดยร้องขอไม่เกินเวลา 14.00 น. ของวันทำการปกติ หากได้รับแจ้งหลังจากเวลานี้ผู้ใช้บริการจะได้รับหนังสือในอีก 1 วันถัดมา
5. วัสดุที่ใช้ในการบำรุงรักษาหนังสือจะเป็นไปด้วยความประหยัดตามวิธีการในการบำรุงรักษาแต่ละวิธีซึ่งแตกต่างกันไป โดยหากวัสดุเดิมของหนังสือยังใช้ได้ จะยังคงใช้เป็นส่วนสำคัญในการบำรุงรักษา ไม่ว่าจะเป็นการซ่อม การเสริมปกแข็งหรือการเข้าปกเย็บเล่มใหม่ก็ตาม

นโยบายการบำรุงรักษาวัสดุสื่อโสตทัศนศึกษา
                การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดมีวัตถุประสงค์ในการตอบสนองต่อความต้องการในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของนิสิต คณาจารย์ ตลอดจนพนักงานของมหาวิทยาลัยทุกคน ดังนั้นสำนักหอสมุดจึงจัดให้วัสดุสารสนเทศทุกชิ้นมีไว้เพื่อใช้และจำเป็นต้องแบ่งปัน โดยวัสดุสารสนเทศเหล่านี้ต้องได้รับการดูแล บำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีและสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้สำนักหอสมุดจึงขอร้องท่านผู้ใช้บริการทุกท่าน ขอได้โปรดใช้ด้วยความระมัดระวังและถนอมรักษา เพื่อว่าในอนาคตชาวมหาวิทยาลัยบูรพารุ่นต่อ ๆ ไปจะยังคง มีโอกาสได้ใช้ทรัพยากรสารสนเทศอันเป็นสมบัติของมหาวิทยาลัยสืบไป
การสูญหายหรือถูกทำลายของวัสดุสารสนเทศ เป็นความพยายามอย่างยิ่งของสำนักหอสมุดที่จะดำเนินการป้องกันและพยายามรักษาสภาพของวัสดุสารสนเทศให้อยู่ในสภาพที่ดีและมีความสมบูรณ์ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของนิสิตและคณาจารย์มากที่สุด การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศมาทดแทนของเดิมที่สูญหายหรือถูกทำลายไปนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก
เนื่องจากสำนักหอสมุดต้องใช้งบประมาณจัดซื้อมาใหม่และส่วนใหญ่มีราคาแพง หายาก แม้ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ที่เพิ่งออกใหม่ก็ตาม บางครั้งก็ไม่สามารถหาซื้อได้ ปัญหาหนังสือหายหรือถูกฉีกทำลาย ซึ่งเป็นปัญหาโดยตรงต่อสำนักหอสมุดนั้น ท่านผู้ใช้บริการอาจจะไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหาสำหรับท่าน จนกว่าท่านจะเกิดความไม่พอใจเมื่อพบว่าวัสดุสารสนเทศที่ต้องการนั้นมีในห้องสมุดแต่ไม่สามารถหาได้เนื่องจากสูญหายไปแล้วจาก Collection ของห้องสมุด
เจ้าหน้าที่ของสำนักหอสมุดทุกคนปรารถนาให้วัสดุสารสนเทศของสำนักหอสมุดได้รับการดูแลและบำรุงรักษาอย่างระมัดระวัง ไม่มีเจ้าหน้าที่ห้องสมุดคนใดจะต้องการให้ผู้ใช้บริการไม่ได้รับสื่อสารสนเทศที่ต้องการ ดังนั้น สำนักหอสมุดจึงขอร้องท่านผู้ใช้บริการทุกท่านให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของสำนักหอสมุดในการบำรุงรักษาและป้องกันไม่ให้วัสดุสารนิเทศชำรุดเสียหายด้วยความประมาทเลินเล่อหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ สำนักหอสมุดไม่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการรับประทานอาหาร ขนม หรือดื่มเครื่องดื่ม รวมทั้งการสูบบุหรี่ในห้องสมุด
ท่านผู้ใช้บริการสามารถช่วยบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศได้ด้วยการหยิบจับอย่างทนุถนอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือเก่า กระดาษกรอบบาง รวมทั้งช่วยป้องกันและระมัดระวังหนังสือให้พ้นจากน้ำฝน แสงแดดและไม่ทิ้งไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิร้อนจัด เช่น ในรถยนต์ที่จอดไว้กลางแจ้ง เป็นต้น รวมทั้งการถนอมรักษาหนังสือจากการถ่ายสำเนาเอกสาร ด้วยการไม่พับมุมหน้าหนังสือ วิธีที่ถูกต้องควรใช้กระดาษบางคั่นและระบุเลขหน้าที่ต้องการถ่าย และขอได้โปรดแจ้งให้เจ้าหน้าที่ถ่ายสำเนาได้พึงระวังรักษาหนังสือมิให้บอบช้ำจากการดึงและกดทับตัวเล่มกับเครื่อง ซึ่งจะทำให้สันหนังสือฉีกขาดได้ง่าย
สำนักหอสมุดจะดำเนินการโดยเคร่งครัดกับผู้ที่ฝ่าฝืนนำวัสดุสารสนเทศออกจากห้องสมุดโดยมิได้ยืมตามระเบียบ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบวินัยที่บัญญัติแห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยวินัยนิสิต พ.ศ. 2539 การฝ่าฝืนวินัยดังกล่าวครอบคลุมความผิดที่กระทำดังนี้คือ การขโมยวัสดุสารนิเทศ การไม่คืนวัสดุสารสนเทศตามกำหนดเมื่อได้รับการทวงถาม การทำลาย ตัด ฉีกหนังสือ วารสารหรือหนังสือพิมพ์ รวมทั้งการพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้ทำการขโมย หรือทำลายวัสดุของสำนักหอสมุดด้วย

แหล่งอ้างอิง
www.lib.buu.ac.th

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 5 ศึกษาดูงาน ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา



ประวัติสำนักหอสมุด
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นหน่วยงานส่งเสริมวิชาการของมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการ สารสนเทศเพื่อการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย พัฒนามาจากห้องอ่านหนังสือ ซึ่งเปิดบริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 โดยใช้ห้องเลขที่ 203 ในอาคารเรียนของวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 ห้องสมุดได้ย้ายมาอยู่อาคารอำนวยการ โดยได้ใช้ห้องชั้นล่างของอาคารเป็นที่ปฏิบัติงานจนถึงปี พ.ศ. 2503 วิทยาลัยได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่เสร็จเรียบร้อย ห้องสมุดได้ย้ายอีกครั้งมาอยู่ในห้องโถงชั้นล่างของอาคารเรียนซีกหนึ่ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2516 วิทยาลัยได้งบประมาณก่อสร้างอาคารหอสมุดเป็นเอกเทศ มีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น และเปิดใช้เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2516
เมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการเปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน และมหาวิทยาลัยบูรพา ตามลำดับนั้น ในปีงบประมาณ 2536-2539 สำนักหอสมุดได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคารสำนักหอสมุดหลังใหม่สูง 7 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 11,500 ตารางเมตร และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ อาคารเทพรัตนราชสุดาและเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2538


โครงสร้างการบริหาร

ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ของสำนักหอสมุด
                ปรัชญา   ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาสังคม
                ปณิธาน   ก้าวสู่ความเป็นเลิศทางการให้บริการสารสนเทศ พร้อมกับมุ่งมั่นให้บริการด้วยความสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ น่าเชื่อถือ ด้วยความมีมิตรไมตรี
                วิสัยทัศน์   มุ่งพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในการให้บริการสารสนเทศด้วยบุคลากรที่มีคุณภาพ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย  เพื่อความเป็นมาตรฐานสากล

ภาพรวมศึกษาดูงาน





แหล่งอ้างอิง 
http://www.lib.buu.ac.th (18 กรกฎาคม 2555)